ค้นหาบ่อย : Octa | pressure gauge | KLQD | diaphragm seal | AT63 | Sirca | nuovafima | arita | ball valve | butterfly valve | positioner | rotork | หัวขับลม | หัวขับไฟฟ้า | GB63 | ari | KITZ | Flowmeter

Knowledge | มาตรฐานหน้าแปลน

Gallery Image

มาตรฐานหน้าแปลน หรือ Flange Standard รวมถึงประเภท ขนาด วัสดุ และข้อมูลจำเพาะที่ใช้ในท่อและภาชนะรับความดัน

flange-standard-jis-ansi-pn

เพิ่มเพื่อน

มาตรฐานของหน้าแปลน มีทั้งหมด 3 มาตรฐานดังนี้

1. ANSI (American National Standard Institute) เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานอเมริกัน (ANSI) หน้าแปลนจะมีความสามารถในการทนแรงดันที่แตกต่างกันโดยมาตรฐาน ANSI จะใช้หน่วย PSI เป็นมาตรฐานในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ANSI150 หมายถึงหน้าแปลนชิ้นนี้สามารถทนแรงดันได้มากที่สุดที่ 150 PSI เป็นต้น

2. DIN (Deutsches Institut für Normung) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานเยอรมัน หน้าแปลนจะมีความสามารถในการทนแรงดันในมาตรฐาน DIN จะใช้หน่วย Bar เป็นหลัก และเปลี่ยนตัวย่อของแรงดันเป็น PN6 PN10 PN25

3. JIS (Japanese Institute of Standard) เป็นมาตรฐานที่วางระบบโดยสถาบันมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งมาตรฐาน JIS นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโซน Asia ซึ่งหน่วยของความสามารถในการทนแรงดันจะเป็นหน่วย kg/cm2 แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถเทียบเป็น Bar ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น JIS10K ทนแรงดันได้ 10 kg/cm2 หรือ 10 Bar

ตารางระยะ Dimensions แต่ละมาตรฐาน

flange-standard-jis-ansi-pn

รูปแบบการติดตั้งหน้าแปลน

หน้าแปลนจะมี 2 ด้าน คือด้านที่ติดตั้งกับท่อ และด้านที่ติดตั้งกับอุปกรณ์ โดยมีรูปแบบดังนี้

1. ด้านที่เชื่อมติดกับท่อ จะมีรูปแบบการติดตั้งที่ใช้ในปัจจุบัน ดังนี้

  • socket-flange-standard-jis-ansi-pn                   การติดตั้งแบบสวมเชื่อมมีบ่า (Socket Welded)

 

  • slip-on-flange-standard-jis-ansi-pn                    การติดตั้งแบบสวมเชื่อมไม่มีบ่า (Slip-On)
  • screw-flange-standard-jis-ansi-pn                การติดตั้งแบบเกลียว (Screwed)

 

  • welding-neck-flange-standard-jis-ansi-pn                    การติดตั้งแบบชนเชื่อมคอยกสูง (Welding Neck)
  • lap-joint-flange-standard-jis-ansi-pn           การติดตั้งแบบอิสระของหน้าแปลน (Lap Joint)
  • blind-flange-standard-jis-ansi-pn                   การติดตั้งแบบอุด (Blind)

 

2. ด้านที่ติดตั้งกับอุปกรณ์ ซึ่งจะรองรับสำหรับปะเก็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยรั่วของข้อต่อ จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

  • Raised Face (RF) ผิวหน้าของหน้าแปลนบริเวณที่รับปะเก็นจะยกสูงเล็กน้อย ทั่วไปจะเรียกว่า “หน้ายกสูง” เป็นหน้าที่นิยมใช้มากที่สุด ป้องกันการรั่วซึมที่ความดันสูงได้ดี
    raise-face-flange-standard-jis-ansi-pn
  • Flat Face (FF) ผิวหน้าของหน้าแปลนบริเวณที่รับปะเก็นจะเรียบเสมอเป็นผิวเดียวกันตลอดหน้าจาน ทั่วไปจะเรียกว่า

flat-face-flange-standard-jis-ansi-pn

“หน้าเรียบ” ควรเลือกใช้ปะเก็นที่มีขนาดเต็มหน้าจาน

  • Ring Joint Facing (RTJ) ผิวหน้าของหน้าแปลนจะเป็นร่องลึกตามแนวเส้นรอบวง จะทำหน้าที่เป็นร่องรับปะเก็น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี ณ การใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงแต่ความดันสูง

 

ring-joint-flange-standard-jis-ansi-pn

 

ตัวอย่างวาล์วหรือสินค้าอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องทราบมาตรฐานหน้าแปลนก่อนสั่งซื้อ

เลือกดูหน้าแปลนทั้งหมด | All flange available

Related Link (บทความสินค้าที่เกี่ยวข้อง)

Related website

ads pressure gauge octa เกจวัดแรงดัน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

ประกาศจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

หยุดทำการ ในวันที่
29 ธ.ค. ถึง 2 ม.ค. เปิดทำการปกติ 3 ม.ค. 2567