เกจวัดแรงดัน คืออะไร ? แนะนำประเภทเกจวัด

การวัดแรงดัน ด้วยเกจวัดแรงดัน

การวัดแรงดัน ด้วยเกจวัดแรงดัน 1

การวัดความดันเป็นเครื่องมือวัดความดันสำคัญของหลายอุตสาหกรรม รวมถึงวิศวกรรม การผลิต และยานยนต์ หนึ่งในเครื่องมือวัดความดันที่ใช้บ่อยที่สุดคือเกจวัดแรงดัน(Pressure Gauge) ในบทความนี้ เราจะสำรวจเกจวัดแรงดันประเภทต่างๆ และขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการวัดแรงดันด้วยเกจวัด

เกจวัดแรงดันคืออะไร ?

เกจวัดแรงดัน คือ อุปกรณ์ที่ใช้สำหรับวัดความดันในระบบท่อเมื่อเทียบกับบรรยากาศ มีการนำไปใช้ในระดับครัวเรือนเช่นการวัดความดันลมยางรถยนต์ การวัดความดันลูกสูบรถมอเตอร์ไซค์ หรือในระดับอุตสาหกรรม เช่น การวัดความดันในระบบท่อที่ใช้ในการผลิต เพื่อตรวจสอบและควบคุมการผลิตให้เป็นไปอย่างราบรื่นและปลอดภัย

หน่วยวัดความดัน

หน่วยวัดความดัน หรือ Unit of pressure ปัจจุบันมีการใช้งานที่หลากหลาย แต่ในประเทศไทยจะมีหน่วยวัดที่พบได้บ่อยดังต่อไปนี้

  • Normal Pressure: bar,  kg /cm2 , psi, MPa, kPa
  • Vacuum Pressure: mmHg, inchHg
  • Compound Pressure: bar, mmHg, psi, Kg/cm2

ดูหน่วยวัดความดันทั้งหมด: Unit of pressure

ข้อดีของการเติมน้ำมันเกจวัดแรงดัน

  • กลไกภายในถูกป้องกันจากแรงสั่นสะเทือน
  • อ่านค่าง่ายขึ้นเพราะเข็มชี้สั่นน้อยลง
  • ชลอการเสื่อมสภาพของหน้าปัด
  • ช่วยยึดอายุการใช้งานของเกจวัดแรงดัน

ดูวิดีโอ : เกจวัดแรงดันแบบน้ำมัน VS แบบแห้ง ต่างกันอย่างไร ?

การตัดจุกเกจวัดแรงดัน

น้ำมันกลีเซอรีนเป็นของเหลว การตัดจุกเกจวัดแรงดันจะช่วยระบายความดันสะสมภายในเกจ หากไม่ตัดจุกออกเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของุณหภูมิ น้ำมันภายในอาจขยายตัว ส่งผลกระทบต่อการอ่านค่าแรงดัน อาจทำให้ค่าความดันออกมาไม่แม่นยำ

ดูวิดีโอ : เกจวัดแรงดัน ทำไมต้องเติมกลีเซอรีน ตัดจุกด้วย ? | Pressure gauge with glycerin

ประเภทของเกจวัดแรงดัน

เกจวัดความดันมีหลายประเภท แต่ละประเภทมีคุณสมบัติและคุณประโยชน์เฉพาะตัว เครื่องวัดความดันบางประเภทที่พบมากที่สุด ได้แก่

  1. เกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง
  2. ไดอะแฟรมเกจ
  3. เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล

เกจวัดแรงดัน pressure gauge บูร์ดอง ดิจิตอล ไดอะแฟรม

เกจวัดแรงดันแบบบูร์ดอง (Bourdon Pressure Gauge)

เป็นเกจวัดแรงดันที่อาศัยการทำงานของท่อบูร์ดอง ใช้หลักการยืดและหกของบูร์ดองในการติดตามการเปลี่ยนแปลงของแรงดันในระบบ โดยมีตัวชี้ หรือ Pointer ติดตั้งอยู่กับบูร์ดองเพื่อแสดงค่าบนหน้าปัด

ไดอะแฟรมเกจ (Diaphragm Pressure Gauge)

เกจวัดแรงดันแบบไดอะแฟรม ใช้หลักการของบูร์ดองผสมกับแผ่นไดอะแฟรม โดยนำแผ่นไดอะแฟรมมากั้นระหว่างของไหลในระบบไม่ให้สัมผัสกับเกจวัดแรงดันโดยตรง

ข้อควรระวัง : การใช้เกจวัดแรงดันประเภทไดอะแฟรมจำเป็นต้องทำการ Vacuum อากาศออกจากเครื่องมือวัด มิเช่นนั้นอากาศภายในเครื่องมือจะทำให้การอ่านค่าผิดพลาด

เกจวัดแรงดันแบบดิจิตอล (Digital Pressure Gauge)

Digital Pressure Gauge เป็นเกจวัดที่ใช้เซนเซอร์ในการรับค่าแรงดันและแปลงค่าความดันเป็นตัวเลข โดดเด่นกว่าเกจวัดประเภทอื่นในเรื่องของความแม่นยำ ความง่ายในการอ่านค่า แต่ก็แลกมากับราคาอาจจะสูงกว่า 2-3 เท่า

วิธีการวัดความดันด้วยเกจวัดแรงดัน

การวัดความดันด้วยเกจวัดเป็นกระบวนการที่ค่อนข้างง่าย มีขั้นตอนและวิธีการดังนี้

  1. เลือกประเภทของเกจวัดที่เหมาะสมกับความต้องการของคุณ
  2. ติดเกจเข้ากับจุดที่ต้องการวัดแรงดัน
  3. เปิดแหล่งกำเนิดแรงดัน เพื่อป้อนแรงดันเข้าระบบ
  4. อ่านค่าความดันที่อ่านได้จากมาตรวัด/เกจวัด
  5. บันทึกการอ่านค่าความดันเพื่อใช้อ้างอิงในอนาคต

ข้อควรระวังเพื่อให้การวัดแรงดันมีความแม่นยำอยู่เสมอ

เพื่อให้แน่ใจว่าการวัดความดันมีความแม่นยำ มีข้อควรพิจารณาทั้งหมด 3 ประการ ได้แก่

  1. สอบเทียบเกจวัดแรงดันอย่างสม่ำเสมอโดยใช้หน่วยการวัดที่ถูกต้อง
  2. การเลือกช่วงแรงดัน(Pressure Range) ที่เหมาะสมสำหรับมาตรวัด
  3. การบำรุงรักษาเกจวัดแรงดันให้อยู่ในสภาพดี

เกจวัดแรงดัน-ข้อควรระวัง-pressure gauge

สรุป

การวัดความดันด้วยเกจวัดความดันเป็นกระบวนการที่ไม่ซับซ้อนซึ่งสามารถให้ข้อมูลที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมต่างๆ ด้วยการทำความเข้าใจเกจวัดแรงดันประเภทต่างๆ ที่มีและขั้นตอนที่เกี่ยวข้องในการวัดแรงดัน คุณจะมั่นใจได้ว่าการอ่านค่าแรงดันแม่นยำและเชื่อถือได้สำหรับความต้องการเฉพาะของคุณ

เลือกซื้อเกจวัดแรงดัน: PRESSURE GAUGE – ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง (pakoengineering.com)

สอบถามเพิ่มเติม

บริษัท ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

เกจวัดแรงดันที่จำหน่ายโดยบริษัท ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด

แสดงความคิดเห็น

"ความต้องการของคุณ คือหน้าที่ของเรา"

เกี่ยวกับเรา

บริษัท ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือวัด เช่น Pressure gauge, Flow meter รวมถึงอุปกรณ์นิวเมติกส์อย่าง Actuators 

ติดต่อเรา

บทความล่าสุด

ติดตามเรา

วิดีโอล่าสุดจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

ประกาศจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

หยุดทำการ ในวันที่
29 ธ.ค. ถึง 2 ม.ค. เปิดทำการปกติ 3 ม.ค. 2567