Pneumatic Actuator คืออะไร มีกี่ประเภท ? | หัวขับลม

pneumatic actuator rack and pinion scotch yoke หัวขับวาล์วลม

หลังจากที่เรารู้จัก Actuators กันไปแล้ว คำถามต่อมาคือแล้วประเภท Pneumatic Actuator หรือหัวขับวาล์วลมที่ทำงานด้วยนิวเมติกส์ มีระบบการทำงานอย่างไรและอะไรที่ทำให้ให้หัวขับลมโดดเด่นกว่าหัวขับไฟฟ้า(Electric Actuator) ในบทความนี้เราจะมาเจาะลึกรายละเอียดของ Pneumatic Actuator เกี่ยวกับหลักการทำงาน ประเภททั้งแบบ Scotch Yoke และ Rack&Pinion ข้อดีของการใช้งานหัวขับลมและอุตสาหกรรมที่นิยมนำไปใช้ หากพร้อมแล้วเราไปตะลุยพร้อม ๆ กัน รับรองว่าเป็นประโยชน์อย่างแน่นอนครับ

Pneumatic Actuator คืออะไร ?

ชื่อภาษาอังกฤษ : Pneumatic Actuator  ชื่อภาษาไทย : หัวขับลม

Pneumatic Actuator คือ อุปกรณ์ที่แปลงพลังงานของอากาศอัดให้เป็นการเคลื่อนที่เชิงกล เพื่อสร้างการเคลื่อนที่เชิงเส้น(Produce Linear) หรือแบบหมุน(Rotary Motion) เมื่อกลไกลของหัวขับทำงาน วาล์วที่ถูกติดตั้งก็จะเปิด-ปิด หรือเปลี่ยนทิศทางมักใช้ในระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรมและการผลิตเพราะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิตได้เป็นอย่างดี แต่ก็มีการใช้งานในอุตสาหกรรมอื่นๆ มากมาย เช่น ยานยนต์ การบินและอวกาศ และการแพทย์ เช่นกัน

หัวขับลมถูกนิยมนำมาติดตั้งกับวาล์วเพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนกลไกในการเปิดปิดของ Valve เหมาะที่จะใช้กับวาล์วที่มีองศาการเปิด/ปิด 0-90 องศา หรือ Quarter –Turn เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของแรงดันอากาศ(Gauge Pressure) ภายในตัวหัวขับลม กลไกภายในจะเริ่มทำงานสั่งการให้เปิดหรือปิดวาล์วได้

การทำงาน-pneumatic actuator-หัวขับลม
ภาพที่ 1: ตัวอย่างการทำงานของ Pneumatic Actuator

หลักการทำงานของ Pneumatic Actuator

Pneumatic Actuator ประกอบด้วยก้านลูกสูบที่เคลื่อนที่ภายในกระบอกสูบ เมื่อลมหรืออากาศถูกจ่ายไปที่ปลายด้านหนึ่งของกระบอกสูบ มันจะดันก้านลูกสูบไปในทิศทางตรงกันข้าม จากนั้นก้านลูกสูบจะเชื่อมต่อกับโหลด เช่น วาล์วหรือสายพานลำเลียง ซึ่งจะถูกเคลื่อนที่เพื่อตอบสนองต่อแรงอัดของอากาศ

ซึ่ง Pnematic Actuator สามารถเป็นได้ทั้งแบบ Single Actiong หรือแบบ Double Acting หัวขับลมแบบ Single จะมีสปริง(Spring)ที่จะคืนก้านลูกสูบกลับสู่ตำแหน่งเดิมเมื่อถอดแหล่งจ่ายอากาศอัดออก ส่วนหัวขับลมแบบ Double จะไม่มีสปริงด้านใน ดังนั้นจึงต้องใช้ลมอัดที่ปลายทั้งสองข้างของกระบอกสูบเพื่อที่จะเคลื่อนก้านลูกสูบไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง

ลักษณะการทำงานแบบ Double Acting และ Single Acting

ความแตกต่างของการทำงานแบบ Double และ Single Acting มีดังนี้

Double Acting

ลักษณะการทำงานคือ ขณะเปิดวาล์วจะใช้ลมในการควบคุม และขณะปิดก็ใช้ลมในการควบคุมเช่นกัน โดยจะต้องใช้ Port ลมจ่ายเข้าไปภายในห้องลมทั้ง 2 Port

Pneumatic Actuator Double Acting
ภาพที่ 2: Pneumatic Actuator Double Acting

Single Acting

ลักษณะการทำงานคือ ขณะเปิดวาล์วจะใช้ลมในการควบคุม แต่ขณะปิดวาล์วจะใช้แรงดันของสปริงส่งกลับมาในสถานะปิดดวาล์ว โดยจะต้องใช้ Port ลมจ่ายเข้าไปภายในห้องลมเพียง 1 Port เท่านั้น

Pneumatic Actuator Single Acting
ภาพที่ 3: Pneumatic Actuator Single Acting

วิดีโอสาธิตการทำงานของ Pneumatic Actuator Double Acting

วิดีโอสาธิตการทำงานของ Pneumatic Actuator Single Acting

สาเหตุที่ต้องใช้ Pneumatic Actuator ในการควบคุมวาล์ว

แน่นอนว่าตัววาล์วเองมีด้ามหรือพวงมาลัยให้ผู้ใช้สามารถเปิด-ปิดด้วยตนเองได้ แต่ก็มีหลายกรณีที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์อย่าง Pneumatic Actuators มาเป็นตัวช่วยในการควบคุม โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่เราได้สำรวจจากลูกค้าของเรามีดังนี้

  1. วาล์วขนาดใหญ่: วาล์วที่ใช้ในระบบมีขนาดใหญ่เกินกว่าที่กำลังคนจะสามารถเปิด-ปิดได้
  2. เปิดปิดบ่อย: ระบบถูกออกแบบให้มีการเปิดและปิดบ่อยครั้ง
  3. ตั้งเวลาล่วงหน้า: จำเป็นต้องตั้งเวลาเปิดและปิดล่วงหน้าในช่วงเวลาที่ไม่มีกำลังคนหรือไม่สะดวกในเวลาดังกล่าว
  4. จุดติดตั้งไกล: วาล์วที่มีสถานที่ติดตั้งห่างไกลหรือสถานที่ที่ไม่สามารถใช้กำลังคนเข้าไปควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วได้อย่างสะดวก
  5. ต่อเนื่องและเป็นระบบ: วาล์วที่ติดตั้งภายในโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีการออกแบบให้ทำงานสอดคล้องกันเป็น ระบบ ฯลฯ

ด้วยสาเหตุดังกล่าวข้างต้น Pneumatic Actuator จึงกลายเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกที่ใช้ในการควบคุมการเปิด-ปิดวาล์วที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ

ประเภทของ Pneumatic Actuator

ประเภทของหัวขับลมแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ

1. Scotch Yoke Pneumatic Actuator

Scotch Yoke Pneumatic Actuator เป็นหัวขับลมชนิดหนึ่งที่ใช้หลักการ Scotch Yoke Mechanism เพื่อแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นให้เป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน กลไกแบบ Scotch Yoke ประกอบด้วย Yoke หรือแอกที่หมุนอยู่บนเพลาและก้านลูกสูบที่เชื่อมต่อกับแอก เมื่ออากาศอัดถูกจ่ายไปที่ก้านลูกสูบ มันจะดันแอก ซึ่งจะทำให้เพลาหมุนนั่นเอง

กลไก scotch yock mechanism
ภาพที่ 4.1: กลไกล Scotch Yoke Mechanism

Pneumatic Actuator แบบ Scotch yoke ขึ้นชื่อในด้านกำลังแรงบิดสูงและความสามารถในการรับน้ำหนักสูง นอกจากนี้ยังมีการออกแบบที่ค่อนข้างเรียบง่ายและบำรุงรักษาง่าย อย่างไรก็ตาม อาจมีราคาแพงกว่าประเภท Rack&Pinion

Scotch Yoke Pneumatic Actuator

ภาพที่ 4.2: หัวขับลมประเภท Scotch Yoke

2. Rack & Pinion Pneumatic Actuator

Rack & Pinion Pneumatic Actuator คือประเภทของหัวขับลมที่ใช้หลักการ Rack and Pinion Mechanism เพื่อแปลงการเคลื่อนที่เชิงเส้นให้เป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน กลไกแร็คแอนด์พีเนียนประกอบด้วยแร็คซึ่งเป็นแท่งฟัน และเฟืองซึ่งเป็นเฟือง เมื่ออากาศอัดถูกจ่ายไปที่ก้านลูกสูบ มันจะดันแร็ค ซึ่งจะทำให้เฟืองหมุน

กลไก rack and pinion mechanism
ภาพที่ 5.1: กลไกแบบ Rack&Pinion Mechanism

ตัวกระตุ้นนิวแมติกแบบแร็คแอนด์พิเนียนมีชื่อเสียงในด้านการวางตำแหน่งที่แม่นยำและความสามารถในการทำงานที่ความเร็วสูง นอกจากนี้ยังมีขนาดค่อนข้างกะทัดรัดและน้ำหนักเบาอีกด้วย อย่างไรก็ตาม พวกเขาอาจไม่สามารถรองรับโหลดที่สูงเท่ากับแอคชูเอเตอร์นิวแมติกแบบสก๊อตแอกได้

rack and pinion pneumatic actuator
ภาพที่ 5.2: หัวขับลมประเภท Rack&Pinion

เปรียบเทียบ Pneumatic Actuator ประเภท Scotch Yoke และ Rack And Pinion

ตารางด้านล่างนี้คือการเปรียบเทียบคุณลักษณะเฉพาะตัวของ Pneumatic Actuator ทั้ง 2 ประเภท เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ง่ายยิ่งขึ้น

 
ลักษณะเฉพาะ Scotch Yoke Rack and pinion
แรงบิด / ค่าทอร์ด สูง ปานกลาง
การรับน้ำหนัก สูง ปานกลาง
ความเรียบง่าย เรียบง่าย ซับซ้อนขึ้น
ค่าใช้จ่าย แพงมาก ราคาไม่แพง
ความแม่นยำ แม่นยำน้อยลง แม่นยำขึ้น
ความเร็ว ช้าลง เร็วขึ้น
ความกะทัดรัด ใหญ่กว่า เล็กลงและเบาขึ้น

การคำนวณค่าทอร์คเพื่อเลือกขนาดของหัวขับลม

วิธีการคำนวณค่าทอร์คหรือแรงบิด(Torque)เพื่อเลือกขนาดของ Pneumatic Actuator ให้เหมาะสมกับขนาดของวาล์วที่ใช้งาน

การเลือกค่าทอร์ค

หลักการคำนวณแบบง่าย ๆ คือเลือกค่าทอร์ดของ Actuator ให้มีค่ามากกว่าแรงบิดของวาล์วประมาณ 25% ขึ้นไป

ดู Pneumatic Actuator ทั้งหมด

สรุป

เมื่อรู้จัก Pneumatic Actuator และเห็นถึงหลักการทำงาน ประเภทและเหตุผลที่เราจำเป็นต้องใช้หัวขับวาล์วลมและวิธีเลือกขนาดของ Pneumatic Actuator จากการคำนวณค่าทอร์ดแบบง่าย ๆ กันไปแล้ว ขั้นตอนต่อจากนี้ก็คือการจัดซื้อจัดหาหัวขับที่เหมาะกับระบบและอุปกรณ์ของเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้กับผู้อ่านทุกท่าน

หากคุณอยากได้คำแนะนำในการเลือก Pneumatic Actuator สามารถติดต่อผู้เชี่ยวชาญด้าน Control Valve อย่างปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง เรามีผู้เชียวชาญที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับอุปกรณ์ประเภทนี้กว่า 10 ปี ยินดีให้บริการเป็นอย่างยิ่งครับ

infographic pneumatic actuator
ภาพที่ 6: Infographic สรุปเรื่อง Pneumatic Actuator

แสดงความคิดเห็น

"ความต้องการของคุณ คือหน้าที่ของเรา"

เกี่ยวกับเรา

บริษัท ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือวัด เช่น Pressure gauge, Flow meter รวมถึงอุปกรณ์นิวเมติกส์อย่าง Actuators 

ติดต่อเรา

บทความล่าสุด

ติดตามเรา

วิดีโอล่าสุดจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

ประกาศจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

หยุดทำการ ในวันที่
29 ธ.ค. ถึง 2 ม.ค. เปิดทำการปกติ 3 ม.ค. 2567

Line Add : @pakoeng

เพิ่มเพื่อน