ค้นหาบ่อย : Octa | pressure gauge | KLQD | diaphragm seal | AT63 | Sirca | nuovafima | arita | ball valve | butterfly valve | positioner | rotork | หัวขับลม | หัวขับไฟฟ้า | GB63 | ari | KITZ | Flowmeter

Knowledge | มาตรฐานหน้าแปลน

มาตรฐานหน้าแปลน หรือ Flange Standard รวมถึงประเภท ขนาด วัสดุ และข้อมูลจำเพาะที่ใช้ในท่อและภาชนะรับความดัน

flange-standard-jis-ansi-pn

เพิ่มเพื่อน

มาตรฐานของหน้าแปลน มีทั้งหมด 3 มาตรฐานดังนี้

1. ANSI (American National Standard Institute) เป็นมาตรฐานที่ถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานอเมริกัน (ANSI) หน้าแปลนจะมีความสามารถในการทนแรงดันที่แตกต่างกันโดยมาตรฐาน ANSI จะใช้หน่วย PSI เป็นมาตรฐานในการควบคุมอุปกรณ์ต่างๆ เหล่านี้ ยกตัวอย่างเช่น ANSI150 หมายถึงหน้าแปลนชิ้นนี้สามารถทนแรงดันได้มากที่สุดที่ 150 PSI เป็นต้น

2. DIN (Deutsches Institut für Normung) เป็นมาตรฐานที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในกลุ่มประเทศยุโรป ซึ่งถูกกำหนดขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานเยอรมัน หน้าแปลนจะมีความสามารถในการทนแรงดันในมาตรฐาน DIN จะใช้หน่วย Bar เป็นหลัก และเปลี่ยนตัวย่อของแรงดันเป็น PN6 PN10 PN25

3. JIS (Japanese Institute of Standard) เป็นมาตรฐานที่วางระบบโดยสถาบันมาตรฐานญี่ปุ่น ซึ่งมาตรฐาน JIS นี้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในโซน Asia ซึ่งหน่วยของความสามารถในการทนแรงดันจะเป็นหน่วย kg/cm2 แต่โดยทั่วไปแล้วสามารถเทียบเป็น Bar ได้เลย ยกตัวอย่างเช่น JIS10K ทนแรงดันได้ 10 kg/cm2 หรือ 10 Bar

ตารางระยะ Dimensions แต่ละมาตรฐาน

flange-standard-jis-ansi-pn

รูปแบบการติดตั้งหน้าแปลน

หน้าแปลนจะมี 2 ด้าน คือด้านที่ติดตั้งกับท่อ และด้านที่ติดตั้งกับอุปกรณ์ โดยมีรูปแบบดังนี้

1. ด้านที่เชื่อมติดกับท่อ จะมีรูปแบบการติดตั้งที่ใช้ในปัจจุบัน ดังนี้

  • socket-flange-standard-jis-ansi-pn                   การติดตั้งแบบสวมเชื่อมมีบ่า (Socket Welded)

 

  • slip-on-flange-standard-jis-ansi-pn                    การติดตั้งแบบสวมเชื่อมไม่มีบ่า (Slip-On)
  • screw-flange-standard-jis-ansi-pn                การติดตั้งแบบเกลียว (Screwed)

 

  • welding-neck-flange-standard-jis-ansi-pn                    การติดตั้งแบบชนเชื่อมคอยกสูง (Welding Neck)
  • lap-joint-flange-standard-jis-ansi-pn           การติดตั้งแบบอิสระของหน้าแปลน (Lap Joint)
  • blind-flange-standard-jis-ansi-pn                   การติดตั้งแบบอุด (Blind)

 

2. ด้านที่ติดตั้งกับอุปกรณ์ ซึ่งจะรองรับสำหรับปะเก็นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดรอยรั่วของข้อต่อ จะมีอยู่ 3 รูปแบบ คือ

  • Raised Face (RF) ผิวหน้าของหน้าแปลนบริเวณที่รับปะเก็นจะยกสูงเล็กน้อย ทั่วไปจะเรียกว่า “หน้ายกสูง” เป็นหน้าที่นิยมใช้มากที่สุด ป้องกันการรั่วซึมที่ความดันสูงได้ดี
    raise-face-flange-standard-jis-ansi-pn
  • Flat Face (FF) ผิวหน้าของหน้าแปลนบริเวณที่รับปะเก็นจะเรียบเสมอเป็นผิวเดียวกันตลอดหน้าจาน ทั่วไปจะเรียกว่า

flat-face-flange-standard-jis-ansi-pn

“หน้าเรียบ” ควรเลือกใช้ปะเก็นที่มีขนาดเต็มหน้าจาน

  • Ring Joint Facing (RTJ) ผิวหน้าของหน้าแปลนจะเป็นร่องลึกตามแนวเส้นรอบวง จะทำหน้าที่เป็นร่องรับปะเก็น สามารถป้องกันการรั่วซึมได้ดี ณ การใช้งานที่มีอุณหภูมิสูงแต่ความดันสูง

 

ring-joint-flange-standard-jis-ansi-pn

 

ตัวอย่างวาล์วหรือสินค้าอุตสาหกรรมที่จำเป็นต้องทราบมาตรฐานหน้าแปลนก่อนสั่งซื้อ

เลือกดูหน้าแปลนทั้งหมด | All flange available

แสดงความคิดเห็น

"ความต้องการของคุณ คือหน้าที่ของเรา"

เกี่ยวกับเรา

บริษัท ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้นำเข้าเครื่องมือวัด เช่น Pressure gauge, Flow meter รวมถึงอุปกรณ์นิวเมติกส์อย่าง Actuators 

ติดต่อเรา

บทความล่าสุด

ติดตามเรา

วิดีโอล่าสุดจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

ประกาศจาก ปาโก้ เอ็นจิเนียริ่ง

หยุดทำการ ในวันที่
29 ธ.ค. ถึง 2 ม.ค. เปิดทำการปกติ 3 ม.ค. 2567